วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การติดตั้งสายไฟสายสัญญาณ

 การติดตั้งสายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณ
 การติดตั้งสายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณ
หลังจากที่ได้ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคส  เพื่อที่จะนำอุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาประกอบร่วมกันจนสำเร็จเป็นเครื่อง ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการติดตั้งสายไฟที่จ่ายไปเลี้ยงให้กับเมนบอร์ด ติดตั้งสายสัญญาณต่างๆ สำหรับแสดงสถานะของการทำงานของเครื่อง

  ติดตั้งสายไฟเลี้ยงบนเมนบอร์ด
สายไฟเลี้ยงที่มาจาก Power  Supply  ซึ่งเป็นแหล่งจ่ายไฟของเครื่องนั้น มีอยู่หลาย ๆชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสายไฟเลี้ยงสำหรับเมนบอร์ด สายไฟเลี้ยงสำหรับฮาร์ดดิสก์และซีดีไดร์ฟ และสายไฟเลี้ยงสำหรับฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ฟ ซึ่งจะมีขนาดต่างๆ กันออกไป
สายไฟที่ใช้สำหรับจ่ายไฟเลี้ยงจาก Power Supply ไปยังเมนบอร์ด และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถแบ่งสายไฟเลี้ยงออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้
(1)  สายไฟเลี้ยงสำหรับเมนบอร์ด : มี  2  ขั้ว  คือ  ขั้วต่อแบบ  4  pin  (ATX  12  volt)  และขั้วต่อแบบ  20  หรือ  24  pin  (ATA  power  connector)  ซึ่งมีลักษณะเป็นขั้วต่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีเพียงขั้วต่อเดียวเท่านั้น สำหรับจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ดโดยตรง  ส่วนขั้วต่อแบบ  4 pin  จะจ่ายไฟขนาด  12  volt  ให้กับเมนบอร์ด
(2)  สายไฟเลี้ยงสำหรับฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และซีดีรอมไดร์ฟ : ขั้วต่อของสายไฟเลี้ยงชนิดนี้มีขนาดใหญ่รองลงมา และมีจำนวนมากที่สุดเพราะใช้ต่อกับฮาร์ดดิสก์ และซีดี / ดีวีดีไดร์ฟ
 (3)  สายไฟเลี้ยงสำหรับฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ฟ มีขนาดเล็กที่สุด โดยสายไฟเลี้ยงชนิดนี้มีทั้งหมด 2 เส้นเพื่อจ่ายไฟให้กับฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ฟ (ซึ่งต่อได้สูงสุด 2 ตัว)
 ติดตั้งสายสวิตซ์ไฟและสัญญาณไฟด้านหน้าของเคสเข้ากับเมนบอร์ด
ด้านหน้าของเคสจะมีไฟแสดงสถานการณ์ทำงานของเครื่อง เช่น ไฟ Power ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และภายในเคสจะมีลำโพงสำหรับส่งเสียงเตือน เมื่อเครื่องเกิดความผิดพลาดในการทำงาน ดังนั้นในตัวเครื่องจึงมีสายสัญญาณที่จะสนับสนุนกับการทำงานเหล่านี้โดย จะต้องเสียบสายเหล่านี้เข้ากับจัมพ์เปอร์ที่อยู่บนเมนบอร์ด
จัมพ์เปอร์สำหรับเสียบสายสัญญาณบนเมนบอร์ดนั้นมีหลายตัวด้วยกัน แต่จะมีสายสัญญาณที่มากับเคสให้เสียบ ดังนี้

  • POWER-SW (Power Switch) เป็นสวิตซ์สำหรับเปิดให้เครื่องทำงาน




  • RESET-SW (Reset Switch) จะเชื่อมต่อกับสวิตซ์ที่ใช้รีเซ็ตเครื่อง เพื่อรีสตาร์ทให้เครื่องทำงานใหม่หลังจากที่เครื่องค้างไม่ทำงาน




  • PWR-LED (Power/Standby LED)  จะเชื่อมต่อกับหลอดไฟที่อยู่ด้านหน้าของเคส เพื่อบอกให้เราทราบว่าเครื่องถูกเปิดทำงานอยู่




  • SPEAKER (Speaker  Connector) จะเชื่อมต่อกับลำโพงที่อยู่ด้านในเคส เพื่อจะได้ส่งเสียงบอกสถานะ และเตือนเมื่อเครื่องทำงานผิดพลาด



    1. HDD-LED (IDE  LED) จะเชื่อมต่อกับหลอดไฟ  LED  ที่อยู่ด้านหน้าของเคส เพื่อบอกให้ทราบว่าขณะนี้ฮาร์ดดิสก์กำลังทำการรับ/ส่งข้อมูลอยู่ 
    ก่อนติดตั้งสายสัญญาณเข้ากับจัมพ์เปอร์นั้น จะต้องทำการสำรวจตำแหน่งของจัมพ์เปอร์ที่อยู่บนเมนบอร์ดก่อนว่าจัมพ์เปอร์แต่ละตัวอยู่ในตำแหน่งใด หลังจากที่ทราบตำแหน่งของจัมพ์เปอร์ พร้อมกับตำแหน่งของขาสัญญาณต่างๆ แล้ว ให้จับขั้วของสัญญาณเสียบเข้าจัมพ์เปอร์(จะต้องเสียบขั้วสายสัญญาณให้ตรงกับตำแหน่งจัมพ์เปอร์ ซึ่งดูตำแหน่งนี้ได้จากคู่มือ